วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ถั่วเขียวกับสุขภาพ

ถั่วเขียวกับสุขภาพ


ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนต่างคำนึงถึงสุขภาพของตนเองโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีข้อ
จำกัดเรื่องเวลาและอิทธิพลของวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตก ทำให้โรคที่เกิดความเสื่อมจาก
การเพิ่มขึ้นของอายุ ได้แก่ โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
และโรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาที่ผู้คนในปัจจุบันต้องเผชิญโรคเหล่านี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก
พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีไขมันสูง มีใยอาหารต่ำ
หรือมีสัดส่วนของสารอาหารไม่เหมาะสม เป็นต้น เมื่อหันมามองพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับ

ประเทศอย่างถั่วเขียว ซึ่งมีการเพาะปลูกมาเป็นเวลานาน และกำลังการผลิตก็เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี อีกทั้งในมุมมองของอาหารและโภชนาการ แล้วถั่วเขียวน่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพของคนเมืองในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง


ในถั่วเขียวมีอะไร

ถั่วเขียวมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แป้งร้อยละ ๖๒.๗ โปรตีนร้อยละ ๒๑.๗ ความชื้นร้อยละ ๑๐.๒
และไขมันร้อยละ ๑.๕ ทำให้พอสรุปได้ว่าถั่วเขียวไม่ใช่พืชที่ให้น้ำมันหรือโปรตีนเป็นหลัก แต่ให้ปริมาณแป้งและโปรตีนที่สูงกว่าถั่วชนิดอื่นๆ ในด้านอุตสาหกรรมจึงนำไปทำเป็นแป้งถั่วเขียว ซึ่งแป้งถั่วนี้มักจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือใช้ทำขนม เช่น ซ่าหริ่ม ส่วนแป้งสดนำ
ไปใช้ทำวุ้นเส้น มีงานวิจัยพบว่า วุ้นเส้นให้ค่าการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือด (glycemic index)
ต่ำ เมื่อเทียบกับอาหารคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่หรือเส้นหมี่ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าแป้ง (starch) มีผลต่อระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด เพราะคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคเข้าไปจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ในยามที่ร่างกายมีการ
สะสมของไกลโคเจนเพียงพออยู่แล้ว นอกจากนี้ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดมีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และไตรกลีเซอร์ไรด์จะยิ่งมีบทบาท
อย่างมากในผู้ที่มีระดับเอชดีแอล (ไขมันคุณภาพดี) ต่ำ มีการศึกษาพบว่าอาหารที่มีค่าการ
ตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากจะสามารถควบคุมระดับน้ำให้เป็นปกติแล้ว ยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้ากินในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้ได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินความจำเป็น


ถั่วเขียว : แหล่งโปรตีนราคาถูก

ถั่วเขียวมีโปรตีนสูงเมื่อเทียบกับถั่วเมล็ดแห้งชนิดอื่นๆ จึงนับว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนได้ ถั่วเขียวเมื่อบริโภคร่วมกับธัญพืชจะให้กรดอะมิโนที่จำเป็นครบตามความต้องการของร่างกาย
โปรตีนจากถั่วเขียว มีราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ และการเลือกกินอาหารโปรตีนจากพืชแทน
เนื้อสัตว์จะสามารถหลีกเลี่ยงการรับไขมันเกินความจำเป็นได้ นอกจากนี้ในถั่วเขียวยังให้วิตามิน
และแร่ธาตุบางชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี ๑ ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี ๒ ช่วย ป้องกันโรคปากนกกระจอก แคลเซียมและฟอสฟอรัสซึ่งจำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูกและ
ธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ถั่วเขียวยังมีใยอาหารซึ่งช่วยควบคุม
ระดับไขมัน ในเลือดและลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่

ถั่วเขียวจัดเป็นอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับ
ไขมันในเลือด การควบคุมน้ำหนัก และการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด นอกจากนี้การนำถั่วเขียวมากินนั้นมีขั้นตอนการเตรียมไม่ยุ่งยาก เช่น ผัดถั่วงอก ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ดังนั้นถ้าทุกคนหันมาเห็นความสำคัญและบริโภคกันมากขึ้นจะทำให้ประเทศไทยนอกจากจะมี
ีถั่วเขียวเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำเงินเข้าประเทศแล้ว ประชากรในประเทศก็จะมีสุขภาพดีอีกด้วย

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

ความสำคัญของอาหารเช้า


ความสำคัญของอาหารเช้า

เคยมีคำพูดเปรียบเทียบไว้ว่า

อาหารมื้อเช้า ให้กินอย่าง ราชา

อาหารมื้อกลางวัน ให้กินอย่าง กรรมกร

อาหารมื้อเย็น ให้กินอย่าง ยาจก

หรือ อาหารมื้อเช้า บำรุงสมอง

อาหารมื้อกลางวัน บำรุงกำลัง

อาหารมื้อเย็น บำรุงเพศ

หรือจากชาวเกาหลี อาหารมื้อเช้า 40 – 50 %

อาหารมื้อกลางวัน 30 – 40 %

อาหารมื้อเย็น 10 – 20 %

แต่ในปัจจุบัน ด้วยสาเหตุใดก็ตาม คนส่วนใหญ่กลับทำตรงกันข้าม

ความสำคัญของอาหารมื้อเช้า คือ

- เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ 7.00 – 9.00 น เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหาร เริ่มทำงาน

- ถ้าไม่มีอาหารลงไปในกระเพาะ การบีบรัดตัวของกระเพาะจะไปเอาอุจจาระกลับเข้ามาย่อยซ้ำ

- สารที่ย่อยจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษจากอุจจาระ (แทนที่จะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์) ฉะนั้น คนที่ท้องผูกบ่อย อุจจาระที่ถ่ายออกมาจะเป็นเม็ดแข็งเพราะถูกย่อยซ้ำและถูกดูดน้ำออกไปซ้ำอีก



ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า

- ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ

- เลือดไม่สะอาด ทำให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง

- สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทำให้ไอคิวต่ำ เฉื่อย ขาดความว่องไว ความจำไม่ดี ขาดความกระตือรือร้น

- ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี ตัวเหลว กล้ามเนื้อเหลว ผิวเหี่ยวและคล้ำ แก่เร็ว ภูมิต้านทานลด ปวดหัว ปวดเข่า
ความจำเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์


ถ้าไม่สะดวกในการรับประทานอาหารเช้า แค่ โยเกิร์ต 1 ถ้วยกับกล้วยน้ำว้า 1 ลูกก็ยังดี โยเกิร์ตดีสำหรับกระเพาะและลำไส้ กล้วยน้ำว้าอุดมด้วยโปรตีนและวิตามิน เอ ซี และอี และย่อยง่าย ควรมีกล้วยน้ำว้าติดบ้านเสมอ

การดื่มกาแฟแทนอาหารเช้าไม่ได้ประโยชน์ และอาจเป็นโทษด้วยจากสารคาเฟอีน

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

อาหารคือ

ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 "อาหาร" หมายถึง ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ซึ่งได้แก่
1. วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อ
จิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส

อาหารแบ่งออกตามลักษณะการควบคุมได้ 4 ประเภท ได้แก่
1. อาหารควบคุมเฉพาะ เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หากผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่ประกาศกระทรวง
สาธารณสุขกำหนดไว้ จำเป็นต้องประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เช่น น้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท น้ำแข็ง ผลิตภัณฑ์ของนม
ไอศกรีม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 17 รายการ
2. อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานเช่นเดียวกับอาหารกลุ่ม 1 แต่การขออนุญาตจะมีความ
เข้มงวดน้อยกว่าอาหารกลุ่ม 1 เช่น ช็อกโกแลต ไข่เยี่ยวม้า ข้าวเติม วิตามิน น้ำมันและไขมัน เนย น้ำปลา น้ำส้มสายชู ชา กาแฟ เป็นต้น
รวมทั้งสิ้น 31 รายการ
3. อาหารที่ต้องมีฉลาก เป็นอาหารที่กำหนดข้อความรายละเอียดที่ต้องแจ้งบนฉลาก เพื่อเป็นการเลือกซื้อ อาหารกลุ่มนี้มี 14 รายการ
เช่น หมากฝรั่งและลูกอม และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
4. อาหารทั่วไป คืออาหารนอกเหนือจากอาหาร 3 กลุ่มข้างต้น

ในปัจจุบันเฉพาะฉลากของอาหารกลุ่ม 1-3 เท่านั้น ที่มีการแสดงเลขสารบบอาหารในเครื่องหมายอย

COOKCOOKZ   © 2008. Template Recipes by Emporium Digital

TOP