วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

ความสำคัญของอาหารเช้า


ความสำคัญของอาหารเช้า

เคยมีคำพูดเปรียบเทียบไว้ว่า

อาหารมื้อเช้า ให้กินอย่าง ราชา

อาหารมื้อกลางวัน ให้กินอย่าง กรรมกร

อาหารมื้อเย็น ให้กินอย่าง ยาจก

หรือ อาหารมื้อเช้า บำรุงสมอง

อาหารมื้อกลางวัน บำรุงกำลัง

อาหารมื้อเย็น บำรุงเพศ

หรือจากชาวเกาหลี อาหารมื้อเช้า 40 – 50 %

อาหารมื้อกลางวัน 30 – 40 %

อาหารมื้อเย็น 10 – 20 %

แต่ในปัจจุบัน ด้วยสาเหตุใดก็ตาม คนส่วนใหญ่กลับทำตรงกันข้าม

ความสำคัญของอาหารมื้อเช้า คือ

- เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ 7.00 – 9.00 น เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหาร เริ่มทำงาน

- ถ้าไม่มีอาหารลงไปในกระเพาะ การบีบรัดตัวของกระเพาะจะไปเอาอุจจาระกลับเข้ามาย่อยซ้ำ

- สารที่ย่อยจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษจากอุจจาระ (แทนที่จะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์) ฉะนั้น คนที่ท้องผูกบ่อย อุจจาระที่ถ่ายออกมาจะเป็นเม็ดแข็งเพราะถูกย่อยซ้ำและถูกดูดน้ำออกไปซ้ำอีก



ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า

- ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ

- เลือดไม่สะอาด ทำให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง

- สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทำให้ไอคิวต่ำ เฉื่อย ขาดความว่องไว ความจำไม่ดี ขาดความกระตือรือร้น

- ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี ตัวเหลว กล้ามเนื้อเหลว ผิวเหี่ยวและคล้ำ แก่เร็ว ภูมิต้านทานลด ปวดหัว ปวดเข่า
ความจำเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์


ถ้าไม่สะดวกในการรับประทานอาหารเช้า แค่ โยเกิร์ต 1 ถ้วยกับกล้วยน้ำว้า 1 ลูกก็ยังดี โยเกิร์ตดีสำหรับกระเพาะและลำไส้ กล้วยน้ำว้าอุดมด้วยโปรตีนและวิตามิน เอ ซี และอี และย่อยง่าย ควรมีกล้วยน้ำว้าติดบ้านเสมอ

การดื่มกาแฟแทนอาหารเช้าไม่ได้ประโยชน์ และอาจเป็นโทษด้วยจากสารคาเฟอีน

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

อาหารคือ

ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 "อาหาร" หมายถึง ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ซึ่งได้แก่
1. วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อ
จิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส

อาหารแบ่งออกตามลักษณะการควบคุมได้ 4 ประเภท ได้แก่
1. อาหารควบคุมเฉพาะ เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หากผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่ประกาศกระทรวง
สาธารณสุขกำหนดไว้ จำเป็นต้องประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เช่น น้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท น้ำแข็ง ผลิตภัณฑ์ของนม
ไอศกรีม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 17 รายการ
2. อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานเช่นเดียวกับอาหารกลุ่ม 1 แต่การขออนุญาตจะมีความ
เข้มงวดน้อยกว่าอาหารกลุ่ม 1 เช่น ช็อกโกแลต ไข่เยี่ยวม้า ข้าวเติม วิตามิน น้ำมันและไขมัน เนย น้ำปลา น้ำส้มสายชู ชา กาแฟ เป็นต้น
รวมทั้งสิ้น 31 รายการ
3. อาหารที่ต้องมีฉลาก เป็นอาหารที่กำหนดข้อความรายละเอียดที่ต้องแจ้งบนฉลาก เพื่อเป็นการเลือกซื้อ อาหารกลุ่มนี้มี 14 รายการ
เช่น หมากฝรั่งและลูกอม และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
4. อาหารทั่วไป คืออาหารนอกเหนือจากอาหาร 3 กลุ่มข้างต้น

ในปัจจุบันเฉพาะฉลากของอาหารกลุ่ม 1-3 เท่านั้น ที่มีการแสดงเลขสารบบอาหารในเครื่องหมายอย

COOKCOOKZ   © 2008. Template Recipes by Emporium Digital

TOP